วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

3.ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
              บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52 ( http://dontong52.blogspot.com)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)วีก็อทสกี้ เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซียทฤษฎีเชาว์ปัญญาของวีก็อทสกี้เน้นความสำคัญของวัฒนธรรม สังคม ละการเรียนรู้ที่มีต่อพัฒนาการเชาว์ปัญญา
วีก็ทสกี้แบ่งระดับเชาว์ปัญญาออกเป็น 2 ขั้น คือ
1) เชาว์ปัญญาขั้นเบื้องต้น คือ เชาว์ปัญญามูลฐานตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
2) เชาว์ปัญญาขั้นสูง คือ เชาว์ปัญญาที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ให้การอบรมเลี้ยงดู ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ โดยใช้ภาษา วีก็อทสกี้ได้แบ่งพัฒนาการทางภาษา เป็น 3 ขั้น คือ
- ภาษาที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียกว่า ภาษาสังคม
- ภาษาที่พูดกับตนเอง (3-7 ขวบ)
- ภาษาที่พูดในใจเฉพาะตน 7 ขวบขึ้นไป
สรุปได้ว่าการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เป็นกระบวนการในการ Acting on ไม่ใช่ Taking in
              ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  

           ( http://sites.google.com/site/bookeclair/hk)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active) และสร้างความรู้  ความเชื่อพื้นฐานของ Constructivism มีรากฐานมาจาก 2 แหล่ง คือจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ และ  วิก็อทสกี้ ทฤษฎี Constructivism จึงแบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ 
1. Cognitive Constructivism หมายถึงทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ(active) และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางพุทธิปัญญาขึ้น เป็นเหตุให้ผู้เรียนปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่งเกิดความสมดุลทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
 2.  Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของวิก็อทสกี้ ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น  (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม(Social Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขวางขึ้น

          สรุป ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) ในการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆถ้ารียนรู้จากการศึกษาในตำราเพียงอย่างเดียวคงไม่รับความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอและเต็มที่ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจที่ได้จากประสบการณ์ที่ได้จากการฝึก การทำบ่อยๆและต้องมีการพัฒนาหรือต่อยอดความรู้หรือสร้างความรู้เทคนิคในกาศึกษาด้วยตนเองจากประสบการณ์ที่ได้จากการฝึก หรือการปฏิบัติต่างๆ จึงจะได้รับความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง
             อ้างอิง      ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) 
                                  บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52 ( http://dontong52.blogspot.com)
                                  ( http://sites.google.com/site/bookeclair/hk)   เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น